วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"หลักธรรมสำหรับผู้บริหาร"

"หลักธรรมสำหรับผู้บริหาร"

คุณธรรม จริยธรรม
             เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วได้รายงานเรื่อง  คุณธรรม  จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้บริหาร ได้แลกเปลี่ยนรู้กับอาจารย์และเพื่อน ๆ เกี่ยวกับหลักธรรมของผู้บริหาร  จึงขอนำเสนอหลักธรรมสำหรับผู้บริหารไว้ ดังนี้

                       สรุป  หลักธรรมบทจะไม่บังเกิดผลถ้าหากคนไม่นำไปปฏิบัติ
ที่มา  ว่าที่ร.ต.สมชาย  พุกผล

>> ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี หลักธรรมที่เรียกว่า พรหมวิหาร 4 (Holy Abiding) ได้แก่
1.             เมตตา (Living  Kindness) แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ
2.             กรุณา (Compassion) แปลว่า ความสงสาร หมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์
3.             มุฑิตา (Sympathetic Joy) แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา  
4.             อุเบกขา (Neutrality)แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบ และทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง
              ผู้บริหารอย่าหลงไปยึดถือเอา พรมวินาศ 4 เป็นที่ตั้ง  ซึ่งได้แก่ บ้าอำนาจ ฉ้อราษฎร์บังหลวง หลอกลวงลูกน้อง ยกย่องคนชั่ว
              >> ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี ธรรมะที่เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 (Base of Sympathy) ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่น หรือธรรมเพื่อให้คน เป็นที่รักของคนทั่วไป อันได้แก่
1.             ทาน (Giving Offering) คือการให้ เสียสละ แบ่งปันแก่ผู้อื่น
2.             ปิยวาจา (Kindly Speech) คือ พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ นุ่มนวล เหมาะแก่ บุคคล เวลา สถานที่ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดในทางสร้างสรรค์ พูดให้เกิดเกิดพลังใจ
3.             อัตถจริยา (Useful Conduct) ทำตนให้เป็นประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญา ความรู้ ความ สามารถ กำลังทรัพย์ และเวลาที่มี อย่างไม่เป็นที่เดือนแก่ตน หรือผู้อื่น
4.             สมานัตตตา (Even and Equal Treatment) คือวางตนให้เสมอต้น เสมอปลาย วางตนเหมาะสมกับฐานะ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุข สม่ำเสมอ คือ เราควร
จะเป็นคนที่ โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ปวงชน วางตนได้เหมาะ
              >> ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี จริยธรรม (Ethics) มีมาตรฐานของการกระทำ และพฤติกรรม   อันเป็นเครื่องบ่งบอกให้เห็นถึงการเป็นผู้ทรงเกียรติ ที่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก หรืออะไร      ที่ผิด โดยใช้ดุลยพินิจพิจารณาในเชิงศีลธรรม คือ
1.             มีบุคลิกภาพการเป็นผู้มีจริยาที่ดี ทั้งการแต่งกาย การพูดจา การแสดงออกทั้งทาง กายจริยา (กาย) วจีจริยา (วาจา) และมโนจริยา (ใจ) ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โดยต้องอยู่ในพื้นฐานของการให้เกียรติ (Honorific) ผู้อื่นเสมอ
1.             กายจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงานซึ่งต้องใช้กายเป็นสำคัญ โดยต้องรักษาระเบียบแบบแผน ถือเอาเหตุผลเป็นสำคัญขณะเดียวกันต้องไม่ถ่วงเวลาผู้อื่น ไม่ละเลยงานในหน้าที่ และต้องทำงานให้ลุล่วงทั้ง "ต่อหน้าและลับหลัง"
2.             วจีจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงานด้วยคำพูดเป็นสำคัญ ต้องน่าเชื่อถือได้ ต้องถือหลักว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์"
3.             มโนจริยา หมายความว่า ตั้งจิตใจมั่นในการปฏิบัติงานทุกอย่างซึ่งเป็นหน้าที่ของตน

การพัฒนาตนเอง

การพัฒนาตนเอง
จงพยายามพัฒนาตนเองให้ติดเป็นนิสัย    เพื่อว่าชีวิตของคุณจะได้ดีขึ้นไปด้วย
สาระสำคัญที่ควรจดจำ :
ในประเทศญี่ปุ่นมีคำกล่าวอีกวลีหนึ่งว่า อันตรายของ นักธุรกิจที่ทำงานเป็นปีที่ 3 หมายความถึงพนักงานจะเริ่ม รู้สึกท้อถอยหลังจากทำงานมาแล้ว 3 ปี และงานที่ทำ ก็จะกลายเป็นเพียงทำเป็นพิธีเท่านั้น ทำงานด้วยความ เฉื่อยชา ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้พนักงานไม่มีคุณภาพ   การที่จะเอาชนะอุปสรรคในลักษณะนี้หรือความ เด็ดเดี่ยวที่จะแก้ปัญหายุ่งยากนี้  ซึ่งนับวันจะยากยิ่งขึ้น เมื่อคุณก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น       แต่สามารถกระทำได้โดยการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอไม่หยุดนิ่ง พยายามหาความรู้ อยู่ตลอด
การพัฒนาตนเองหมายถึงการสร้างความสามารถ  ของคุณเองให้มีมากขึ้นและการพัฒนาความสามารถ ที่ยังไม่ได้พัฒนาของคุณเองด้วย  โดยเหตุที่มนุษย์เรามีความ ต้องการที่จะให้ตนเองเจริญก้าวหน้า (ความต้องการความเจริญก้าวหน้าส่วนตัว   และการรับรู้ศักยภาพของตนเอง) ดังนั้นทุกคนจึงต้องพยายามพัฒนาตนเองเพื่อให้มีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ :
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาตนเองควรทำความเข้าใจกับสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้
การกระทำในเชิงบวก
ที่สำคัญที่สุดคือสร้างแรงดลใจให้อยากแก้ปัญหาคนทำงาน หากคุณเพียงทำงานตามคำสั่ง เท่านั้นคุณจะไม่มีวันพัฒนาความสามารถของคุณเองได้
สะสมข้อมูล
หากไม่มีข้อมูลเข้า (input) แล้วจะมีผลออก (output) ได้อย่างไร การพัฒนาตนเองก็เฉกเช่นกัน การสะสมข้อมูลเพื่อให้ตนเองรอบรู้มากขึ้น จึงเป็นการช่วยพัฒนาตนเองให้รอบรู้และมีประสบการณ์ มากยิ่งขึ้น
พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การพัฒนาตนเองโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทำได้หลายวิธี เช่น
1. การระดมมันสมอง (Brainstroming) โดยวิธีการนี้ จะทำให้พนักงานทุกคนได้มีอิสระเสรีทางความคิด มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันในเชิงสร้างสรรค์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2. รายการตรวจสอบ (Checkist) วิธีการนี้จะช่วยกระตุ้นให้คนพิจารณาในสิ่งที่อาจจะมองข้ามไปได้ ควรตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วน
กฎ 4 ข้อของการระดมมันสมองคือ
1.ห้ามตัดสินว่าความคิดเห็นนั้นดีหรือไม่ดี
2.ให้มีการวิจารณ์อย่างเสรี และไม่มีขอบเขตจำกัด
3.พยายามให้ได้ความคิดเห็นมากที่สุด
4.วิเคราะห์ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หาข้อสรุป แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ไม่ดีให้ดีขึ้น



วิธีตรวจสอบ
1.มีวิธีอื่นอีกบ้างหรือไม่ที่สามารถนำมาใช้ได้
2.มีความคิดเห็นอื่น ๆ อีกบ้างหรือไม่
3.หากคุณตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรูปร่าง สี ระบบการเคลื่อนไหว แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
4.หากคุณทำให้มันใหญ่ขึ้นกว่าเดิมจะเกิดอะไรขึ้น
5.หากคุณทำให้มันเล็กลงจะเกิดอะไรขึ้น
6.สามารถทดแทนกันได้หมด
7.สามารถแลกเปลี่ยนกันได้
8.สามารถกลับหัวกลับหางได้ไหม
9.ข้อตรวจสอบข้างต้นสามารถที่จะดำเนินการได้หรือไม่
ที่มา...จากหนังสือมารยาทในที่ทำงาน
ศูนย์การศึกษาทางไปรษณีย์ (สสท. มหาวิทยาลัยซันโน) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย ญี่ปุ่น)
การพัฒนาตนเอง (SELF DEVELOPMENT)
คนเราถ้าจะเก่งต้องประกอบด้วย 3 เก่งคือ เก่งตน (Self Ability) หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันโลกทันคน โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อน การพัฒนาตนเองนั้นพัฒนาได้ ๓ ทางคือ
  ทางกาย องค์ประกอบที่สำคัญคือ รูปร่าง พัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้การแต่งกายช่วยลดจุดด้อยหรือเสริมจุดเด่น หน้าตาสดชื่นแจ่มใส สะอาดหมดจด อากัปกิริยา การแสดงออกเข้มแข็งแต่ไม่แข็งกระด้าง อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ การยืน การเดิน การนั่ง ต้องมั่นคง เรียบร้อย การแต่งกายต้องสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะ เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณ
  ทางวาจา การพูดดีต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการคือ  พูดแต่ดี  มีประโยชน์  ผู้ฟังชอบ และทุกคนปลอดภัย   ก่อนพูดทุกครั้งต้องคิดก่อนพูด  คนที่พูดดี  มีปิยะวาจา เป็นลมปากที่หวานหูไม่รู้หาย เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุก ๆ ฝ่ายที่ได้ยินได้ฟัง
  ทางใจ การพัฒนาทางใจก็มีองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความมั่นใจ  ถ้ามีความมั่นใจในตนเอง จะทำอะไรก็สำเร็จ ความจริงใจ  คือ  เป็นคนปากกับใจตรงกัน  ความกระตือรือร้น  กระฉับกระเฉง   แจ่มใส มีชีวิตชีวา ความมานะพยายามไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ความซื่อสัตย์สุจริต ความสุขใจ ความอดกลั้น ความมีเหตุผล การมีสมรรถภาพในการจำและมีความคิดสร้างสรรค์
เก่งคน (Self Ability) หมายถึง  มีความสามารถที่จะทำตัวให้เข้าไหนเข้าได้   เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุกฝ่าย  มีมนุษยสัมพันธ์ในครอบครัว   พ่อแม่ควรรู้หลักจิตวิทยาในการปกครองลูก ให้ความรัก ความอบอุ่นแก่ลูก ลูกก็ไม่ทำตนให้เป็นปัญหาให้พ่อแม่ และมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน สามารถทำตนให้เข้ากับคนได้กับทุกคน หากมีผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาก็รัก หากมีลูกน้อง ลูกน้องก็รัก เพื่อนร่วมงานก็รัก บุคคลภายนอกหรือลูกค้าก็รัก ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง
เก่งงาน (Task Ability) หมายถึง ผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน มีความขยันหมั่นเพียร มานะ อดทน ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค
ที่มา :  กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักบริหารกลาง  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ในอดีตที่ผ่านมาองค์กรมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาคนที่เปลือกนอกคือมุ่งเน้นที่การพัฒนา    องค์ความรู้ (Knowledge)”   ทักษะ(Skill)”   หรือ พฤติกรรม (Behavior)”   มากกว่าการพัฒนาที่แก่นแท้ของคนซึ่งหมายถึง ทัศนคติ(Attitude)” “แรงจูงใจ(Motivation)” หรือ อุปนิสัย(Trait)” จึงทำให้การพัฒนาบุคลากรไม่ได้ผลเท่าที่ควร
การพัฒนาคนในหลายองค์กรมักจะมุ่งเน้นผลการพัฒนาระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาและฝึกอบรมจึงออกมาในลักษณะของการพัฒนาความรู้ ทักษะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถเห็นผลได้ทันที เช่น การฝึกอบรมเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ต อาจจะใช้เวลาเพียงวันเดียว จากคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตไม่เป็นก็สามารถใช้เป็นได้ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือ เราไม่ค่อยพัฒนาคนให้ยอมรับว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์กับชีวิตอย่างไร บางคนถึงแม้จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็น แต่รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์มากนัก เลยไม่ได้ใช้ ดังนั้น ทักษะที่เรียนรู้ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร
เราจะเห็นการพัฒนาคนจากเปลือกนอก ได้ชัดเจนมากจากมินิมาร์ท     ปั๊มน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้า ที่พนักงานของเขาทักทายหรือขอบคุณเราด้วยคำว่าสวัสดี หรือ  ขอบคุณแต่เราสามารถสัมผัสได้ว่าคำพูดหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้น ไม่ใช่มาจากส่วนลึกของจิตใจ แต่เป็นเพียงพฤติกรรมที่ถูกฝึกมาและถูกบังคับให้ทำตามเงื่อนไขมากกว่า เช่น ถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งให้พูดคำว่า สวัสดีถ้าพนักงานคนนั้นถูกพัฒนามาจากภายในแล้ว ไม่ว่าเขาจะทำงานหรืออยู่ในสังคมภายนอก การทักทายหรือการขอบคุณนั้นจะต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลาและคำพูดนั้นจะต้องออกมาจากภายใน
แนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคตผมมีความเชื่อมั่นว่าจะต้องเปลี่ยนจากการพัฒนาความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม ไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้เอง พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามทัศนคติที่เปลี่ยนไป องค์กรทุกองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเจาะเข้าไปพัฒนาที่จิตใจของคนมากขึ้น องค์กรต้องหวังผลการพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะถ้าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนาภายในจิตใจของคนแล้ว การพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายนอกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
แนวทางหนึ่งที่กำลังมาแรงแซงทางโค้งในปัจจุบันคือ การพัฒนาตนเอง (Self-Development) เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจเพื่อสร้างแรงจูงใจในชีวิตของคนก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในการพัฒนาแบบนี้คือ ตัวพนักงาน แต่อย่าลืมว่าถ้าพนักงานมีแรงจูงใจในชีวิตแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์ในลำดับต่อมาก็หนีไม่พ้นตัวองค์กร
การพัฒนาแนวทางนี้จะเน้นการค้นหาตัวเอง การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง การกำหนดเป้าหมายในชีวิต การกำหนดแนวทางไปสู่เป้าหมาย รวมถึงการจัดทำแผนการดำเนินชีวิตที่เป็นรูปธรรม พูดง่ายๆคือ สอนคนให้บริหารธุรกิจชีวิตของตัวเองก่อนนั่นเอง ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าถ้าคนมีแผนการบริหารชีวิตที่ดีแล้วคนเหล่านั้นย่อมสามารถเชื่อมโยงเป้าหมายชีวิตเข้าสู่เป้าหมายในการทำงานขององค์กรได้ไม่ยากนัก นอกจากนี้ ถ้าคนสามารถบริหารชีวิตตัวเองได้ การบริหารคนบริหารงานก็ไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป
การพัฒนาแนวทางใหม่นี้ องค์กรจำเป็นต้องเปิดใจกว้างให้มากขึ้น อย่าคิดว่าต้องพัฒนาฝึกอบรมคนเฉพาะหลักสูตรที่เป็นประโยชน์กับองค์กรเพียงอย่างเดียว ลองคิดทบทวนดูให้ดีนะครับว่าอดีตที่ผ่านมาเราคิดแบบนี้ แล้วการพัฒนามันได้ผลหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่ ทำไมไม่ลองพัฒนาในแนวทางใหม่ดูบ้างละครับ
การที่องค์กรส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาชีวิตตัวเองก่อนนั้น นอกจากจะทำให้คนเกิดแรงจูงใจในการทำงานแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่องค์กรจะได้รับคือ ได้รับรู้ว่าคนแต่ละคนมีเป้าหมายในชีวิตเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่องค์กรสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ลองพิจารณาดูนะครับว่า ถ้าพนักงานต้องการปิดบังไม่ให้องค์กรรู้ว่าตัวเองมีเป้าหมายชีวิตของตัวเอง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงาน ในขณะเดียวกันองค์กรก็พยายามกีดกันคนที่มีเป้าหมายในชีวิตของตัวเองที่ชัดเจน เช่น ถ้าองค์กรรู้ว่าคนไหนมีแผนในชีวิตที่จะออกไปทำธุรกิจส่วนตัว ก็มักจะไม่โปรโมทหรือไม่ค่อยส่งไปเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ถ้าเป็นเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรเสียหายสองต่อคือ นอกจากจะกีดกันคนที่มีแรงจูงใจในชีวิตแล้ว ในขณะเดียวกันก็เกิดความสูญเปล่าในการพัฒนาคนที่จงรักภักดีกับองค์กรแต่ขาดแรงจูงใจในชีวิต
องค์กรส่วนใหญ่มักจะมองว่าใครยังไม่มีแผนชีวิต (หรือมีแต่ไม่รู้) ที่จะออกไปจากองค์กร องค์กรมักจะมองว่าคนๆนั้นเป็นทรัพยากรที่มีค่าน่าจะดูแลรักษามากกว่าคนที่มีแผนชีวิตที่ชัดเจน ผมจึงอยากให้คิดทบทวนดูใหม่ว่าการพัฒนาองค์กรไม่ได้อยู่ที่ว่าคนๆนั้นจะอยู่กับองค์กรนานหรือไม่ แต่อยู่ที่ในระยะเวลาที่เขาอยู่กับองค์กรเขาได้สร้างคุณค่าให้กับองค์กรมากน้อยเพียงใด เราจะเห็นว่าคนหลายคนที่ออกจากเราไปทำธุรกิจของตัวเอง ถ้ามองย้อนหลังกลับไปจะเห็นว่าคนเหล่านี้ได้ทุ่มเทและสร้างสรรค์ให้กับองค์กรอย่างคุ้มค่า เผลอๆอาจจะสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้มากกว่าคนที่อยู่นานก็ได้
ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่าคนที่ทำงานเก่งและทำงานดีในองค์กรนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คนๆนั้นมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน และมีแรงจูงใจในชีวิตที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน(
Internal Drive
) ไม่ใช่แรงจูงใจภายนอก (
External Drive
) ใครก็ตามที่ทำงานเพราะมีแรงจูงใจจากภายนอก คนๆนั้น โอกาสเปลี่ยนแปลงมีมาก เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ชีวิตได้เติมเต็มในสิ่งที่ต้องการแล้ว แรงจูงใจจะลดน้อยลงหรือหายไป แต่คนใดมีแรงจูงใจที่เกิดจากภายในแล้ว นอกจากจะไม่ลดไปตามการเติมเต็มของชีวิตแล้ว มันกลับจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาจะตั้งเป้าหมายชีวิตที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น และผมเชื่ออีกว่าความท้าทายในชีวิตอย่างหนึ่งของคนคือ การทำงาน เพราะการทำงานถือเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งที่เขาต้องการประสบความสำเร็จ
สรุป การพัฒนาคนแบบ Inside Out Approach จึงเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาคนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาจากภายใน (ทัศนคติ แรงจูงใจ อุปนิสัย) สู่การพัฒนาภายนอก (ความรู้ ทักษะ พฤติกรรม) เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายในใจของคนได้แล้ว การพัฒนาความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมของคนก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน
จิตใจ คือจุดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคนแบบยั่งยืน